วิทยุสื่อสาร 4G กับข้อแตกต่าง ระหว่างสมาร์ทโฟนและวิทยุสื่อสารดั้งเดิม

วิทยุสื่อสาร 4G กับข้อแตกต่าง ระหว่างสมาร์ทโฟนและวิทยุสื่อสารดั้งเดิม

วิทยุสื่อสาร 4G กับข้อแตกต่าง ระหว่างสมาร์ทโฟนและวิทยุสื่อสารดั้งเดิม

การสื่อสารยุคใหม่จำเป็นต้องรวดเร็วทันใจและก้าวให้ทันเทคโนโลยี ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แม้แต่ภายในบ้าน สถานที่ทำงาน หรือในองค์กรที่ต้องมีการประสานงานและสื่อสารกันมากกว่าปกติ โดยเฉพาะในการทำงานกับคนจำนวนมากและพื้นที่เสี่ยงอันตราย หากการติดต่อสื่อสารในช่วงเวลาสำคัญเกิดการขัดข้อง จะทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและองค์กรมากกว่าที่คิด
สิ่งสำคัญคือ อุปกรณ์สื่อสาร ที่ต้องรองรับการสนทนากับคนหมู่มากได้อย่างสะดวกและรวดเร็วที่สุด โดยหลักๆ ได้แก่ มือถือหรือสมาร์ทโฟน วิทยุสื่อสารหรือที่เรียกติดปากกันว่า วอ และวิทยุสื่อสาร 4G ที่มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่ มาดูกันว่าอุปกรณ์สื่อสารเหล่านี้จะตอบโจทย์การสื่อสารแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

วิทยุสื่อสารแบบดั้งเดิม
วิทยุสื่อสาร หรือที่เราเรียกกันว่า วอ เป็นอุปกรณ์สื่อสารโดยใช้เทคโนโลยีในยุคอะนาล็อกหรือการสื่อสารผ่านสัญญาณวิทยุ โดยสามารถใช้งานในรูปแบบเสียงได้อย่างเดียว ซึ่งหัวใจสำคัญของวิทยุสื่อสารก็คือ ‘เสาอากาศ’ เพื่อรับ – ส่งสัญญาณกับเครื่องวิทยุสื่อสารปลายทาง เหมาะสำหรับใช้สื่อสารแบบกลุ่มในระยะใกล้ หรือในพื้นที่ที่กำหนด เช่น บริษัท ห้างร้าน หรือโรงงานต่างๆ เนื่องจากการรับ – ส่งสัญญาณขึ้นอยู่กับกำลังของเครื่องวิทยุนั้นๆ ด้วย

สามารถหาซื้อได้ง่าย ใช้งานได้ตลอดเวลา ทนทานกว่าการใช้โทรศัพท์มือถือ เสียงดังกว่า เหมาะสำหรับใช้ในหน้างาน มีช่องสัญญาณวิทยุให้ใช้ได้หลายช่อง เหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารในพื้นที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์หรืออินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝันหรือในพื้นที่ห่างไกล เช่น พื้นที่ภัยพิบัติ นิยมใช้ในงานรักษาความปลอดภัย พื้นที่ก่อสร้างและงานบริการสังคม โดยต้องได้รับอนุญาตให้พกวิทยุสื่อสารจาก กสทช.

สมาร์ทโฟน (Smart Phone)
สมาร์ทโฟน หรือ โทรศัพท์มือถือ มีฟังก์ชันการใช้งานหลากหลายนอกเหนือจากการใช้โทรเข้าและโทรออก ซึ่งการใช้งานสมาร์ทโฟนจะใช้ ‘ซิม’ ในการเชื่อมต่อเครือข่ายเพื่อติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน โดยซิมจะมีหมายเลขโทรศัพท์สำหรับติดต่อไปยังหมายเลขอื่นๆ โดยผู้ให้บริการเครือข่ายจะเป็นผู้เรียกเก็บเงินสำหรับการโทร ส่งข้อความและการใช้งานอินเตอร์เน็ต

สมาร์ทโฟนจึงเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่ครอบคลุมแทบทุกอย่างในปัจจุบัน ใช้สื่อสารทางไกลได้อย่างรวดเร็ว โดยมีการพัฒนาระบบปฏิบัติการมาจากรุ่นก่อนๆ จึงสามารถรองรับการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านสัญญาณ Wi-Fi 3G 4G และ 5G ในหลายประเทศ ทำให้สามารถใช้งานแอปพลิเคชันได้มากมาย แต่อย่างไรก็ตาม สมาร์ทโฟนไม่เหมาะสำหรับการสื่อสารกับคนหมู่มากได้เหมือนวิทยุสื่อสาร และต้องใช้เบอร์โทรศัพท์ในการติดต่อสื่อหากันซึ่งเสียเวลาโดยเฉพาะเมื่อเกิดสถานการณ์ต่างๆที่หน้างาน และหากใช้แอปพลิเคชันในการแชทกันเป็นกลุ่ม เช่น Line ก็ต้องรอให้สมาชิกเข้ามาเปิดอ่านหรือฟัง ไม่สามารถสื่อสารได้แบบทันที หรือหากใช้แอปพลิเคชันวิทยุสื่อสาร เช่น Zello หรือ Voxer ก็อาจมีปัญหาเรื่องแบตมือถือหมดเร็ว หรือได้ยินเสียงในหน้างานไม่ชัด เนื่องจากลำโพง speaker ของมือถือมีเสียงที่เบา

วิทยุสื่อสาร 4G
วิทยุสื่อสารยุคใหม่ เป็นวิทยุสื่อสารที่ติดต่อถึงกันได้ด้วยสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อปลดล็อกข้อจํากัดของวิทยุสื่อสารแบบดั้งเดิม ให้สามารถทำงานได้แบบสมาร์ทโฟนที่ทันสมัย เป็นการรวมข้อดีและกำจัดข้อด้อยของทั้งสองแบบ โดยคนจำนวนหมู่มากจะได้รับการสื่อสารพร้อมกันทันทีที่ส่งไป ในระยะทางไกลเท่าที่สัญญาณโทรศัพท์หรืออินเตอร์เน็ตจะเข้าถึงได้ มี GPS ระบุพิกัดเครื่อง นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้วิทยุสื่อสารแบบดั้งเดิม ทั้งในเรื่องความทนทาน ลำโพงเสียงดังสำหรับใช้หน้างาน หรือแม้กระทั่งมีการแจ้งเตือนเมื่อมีผู้ใช้งานเกิดเหตุฉุกเฉิน อีกทั้งในบางรุ่นยังสามารถรับ – ส่งข้อความ ถ่ายรูปหรือวิดีโอ ลงแอปพลิเคชันต่างๆ ได้คล้ายสมาร์ทโฟนอีกด้วย

จุดเด่นของวิทยุสื่อสาร 4G อีกอย่างหนึ่งคือ ไม่ต้องขอใบอนุญาตพกพาจาก กสทช. สัญญาณชัดเจน ไร้คลื่นแทรก และสามารถใช้งานร่วมกับวิทยุสื่อสารแบบดั้งเดิมได้หากติดตั้งเกตเวย์ เหมาะสำหรับการสื่อสารแบบกลุ่มที่ต้องการความรวดเร็วและไม่มีข้อจำกัดเรื่องระยะทาง เช่น โรงพยาบาล หน่วยฉุกเฉิน ขนส่งและโลจิสติกส์ บริหารอาคาร ประกันภัย เป็นต้น

ปัจจุบันวิทยุสื่อสาร 4G มีหลายรุ่นให้เลือกใช้ตามความต้องการ รวมถึงวิทยุสื่อสาร iPOC ที่มีประสิทธิภาพการใช้งานเหนือกว่าวิทยุสื่อสารแบบดั้งเดิม ระบบเสียงชัดเจน ดีเลย์ต่ำ ครอบคลุมทั้ง 3G 4G และ Wi-Fi สนทนาพร้อมกันได้แบบเรียลไทม์ และสามารถเพิ่มขีดความสามารถด้วย iPOC System โซลูชั่นการสื่อสารสำหรับองค์กรมืออาชีพ สามารถแบ่งกลุ่มการสนทนาได้หลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มสาธารณะ กลุ่มส่วนตัวและกลุ่มชั่วคราว มีซอฟต์แวร์สำหรับควบคุมการทำงานและบริหารจัดการผู้ใช้งานทั้งหมด รองรับได้สูงสุดถึง 10,000 ผู้ใช้งานพร้อมกัน ปลอดภัยจากการดักฟังเสียงสนทนา รองรับการสื่อสารแบบองค์กรด้วยโปรแกรมศูนย์กลางประสานงานและสั่งการเครือข่าย สามารถประกาศเสียงสนทนาไปยังทุกกลุ่มที่เลือกได้ในเวลาเดียวกัน พร้อมแสดงพิกัดตำแหน่งผู้ใช้งานได้อีกด้วย

ข่าวสารและบทความ

iPOC ยกทัพวิทยุสื่อสาร iPOC และระบบ iPOC System เข้าร่วมงานมหกรรม Manufacturing Expo 2022
ต.ค. 24 2022

iPOC ยกทัพวิทยุสื่อสาร iPOC และระบบ iPOC System เข้าร่วมงานมหกรรม Manufacturing Expo 2022

iPOC เข้าร่วมงานมหกรรมแมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป 2022 (Manufacturing Expo 2022) ณ ไบเทค บางนา ตั้งแต่วันที่ 22 – 25 มิถุนายน 2565...
รู้จักกับวิทยุสื่อสารที่คุยได้ไม่จำกัดระยะทาง คืออะไร ต่างกับวิทยุสื่อ
ต.ค. 24 2022

รู้จักกับวิทยุสื่อสารที่คุยได้ไม่จำกัดระยะทาง คืออะไร ต่างกับวิทยุสื่อสารทั่วไปอย่างไร ทำอะไรได้บ้าง

ปัจจัยสำคัญของการใช้วิทยุสื่อสาร คือความรวดเร็วของการสื่อสารระหว่างคนในทีม ในบางครั้งวิทยุสื่อสารแบบเดิม ๆ อาจมีข้อจำกัดในการใช้งาน...
Intelligent Innovation Helps State Railway of Thailand Achieve Network Infrastructure Modernization
ต.ค. 24 2022

Intelligent Innovation Helps State Railway of Thailand Achieve Network Infrastructure Modernization

Intelligent Innovation Company Limited was founded in 2009 by a group of seasoned software engineers specializing in security and communications

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า